วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การขุดล้อม

วิธีการขุดล้อมต้นตะโก มี 3 วิธีดังนี้
1.การขุดล้อมเตือนใช้กับต้นไม้ที่ขุดล้อมยากจำเป็นต้องอาศัยเวลานานเป็นปีโดยขุดดินรอบโคนต้นแล้วค่อยๆตัดรากออกทีละด้านและตั้งแต่ขุดครั้งแรกก็ต้องตัดแต่งกิ่งและค้ำยันต้นไว้ให้เรียบร้อยตัวอย่างที่ต้องใช้วิธีนี้ได้แก่ต้นไม้ที่มีอายุมาก เปลือกบาง เจริญเติบโตช้า เช่น ตะโกนา มะเกลือจันทร์ เป็นต้น
2.การขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วงเป็นการลดการคายน้ำให้กับต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ตะแบก เสลา ปีบนนทรี หางนกยูง เป็นต้น
โดยจะขุดรอบโคนต้นแล้วใช้วัสดูห่อหุ้มตุ้มดินไว้ให้แน่นหลังจากนั้น 15-30 วันจึงตัดรากทั้งหมดแล้วจึงเคลื่อนย้าย
3.การขุดล้อมและเคลื่อนย้ายในขั้นตอนเดียวนิยมใช้กับต้นไม้ขนาดใหญ่ มียาง เปลือกหนา มีโอกาสตายน้อยมาก เช่น โพ ไทร กร่าง ยางอินเดีย ลั่นทม ไผ่ เป็นต้น

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ตัวอย่างไม้ดัดไม้แคระ




ประโยชน์ของไม้ดัด ไม้แคระ

ประโยชน์ของไม้ดัดไม้แคระ
ไม้ดัดไม้แคระมีประโยชน์ ดังนี้ 1. สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม การปลูกไม้ดัดไม้แคระสามารถทำเป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ 2. ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความร่มรื่นสวยงาม การปลูกไม้ดัดไม้แคระช่วยสร้างความร่มรื่นสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัย สร้างความเพลิดเพลิน3. เป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ 4. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดัดไม้แคระจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย 5. ไม้ดัดไม้แคระสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี เช่น การส่งออกไม้ดัดไม้แคระไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น 6. ใช้เป็นแหล่งทดลองทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ทำให้เกิดความเจริญด้านเทคโนโลยีการเกษตรมากยิ่งขึ้น 7. การใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการคัดเลือกและวิธีเตรียมพันธุ์ทำไม้ดัดไม้แคระ

วิธีการคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัดไม้แคระ
การคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัดลักษณะรูปทรงของไม้หุ่นต้นไม้ที่นำมาทำเป็นไม้ดัดเราจะเรียกว่า "ไม้หุ่น" ลักษณะการได้มาของไม้หุ่นจะมาจาก 2 แหล่ง คือ1. ได้จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะออกไปหาขุดเองหรือหาซื้อจากผู้ที่ขุดมาขาย2. ปลูกเลี้ยงขึ้นมาเอง3. ไม่ว่าจะหาไม้มาได้ในลักษณะใดก็ตาม การดัดตกแต่งจะยุ่งยากหรือจะต้องใช้เวลามากน้อย แค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของไม้หุ่นเป็นสำคัญโดยทั่ว ๆ ไป นักเล่นไม้ดัดจำแนกรูปทรงไม้หุ่นไว้4. แบบ ด้วยกัน คือ1. ไม้บรรจบป่า2. ไม้บรรจบหุ่น3. ไม้วิชาไม้บรรจบป่า จะเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ รูปทรงกิ่งก้านคดเคี้ยวไปมา เนื่องจากถูกสัตว์เหยียบย่ำหรือเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ทรงพุ่ม แลดูแคระแกร็นลักษณะทรงต้นดี เข้าที่เกือบใช้ได้แล้วอาจขาดเพียง 2-3 กิ่งเท่านั้นไม้ลักษณะนี้จึงเหมาะสมต่อการนำมาดัดให้ได้รูปทรง เพียงเพิ่มกิ่ง เพิ่มช่อใบ เว้นช่องไฟของช่อใบให้รับหุ่นหรือทรงต้น ก็จะทำให้เป็นไม้ดัดที่ดูงานได้ โดยใช้เวลาอีกไม่มากนัก การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด อาจใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็เสร็จสมบูรณ์ไม้บรรจบหุ่น เป็นไม้ที่มีลักษณะรูปทรงหุ่นใกล้เคียงกับรูปแบบไม้ดัดที่จะทำ เพียงนำมาทำการดัดแต่งอีกเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เริ่มทำกิ่งช่อต่อไปได้ไม้บรรจบหุ่นนี้เหมาะสำหรับนำมาดัดแต่งทำเป็นไม้ดัดลักษณะไม้ตลกไม้ขบวนไม้เอนชายและไม้ญี่ปุ่นเท่านั้นการเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด จะต้องใช้เวลานานอาจจะถึง 9 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ไม้วิชา เป็นไม้ที่มีลักษณะทรงต้นเพียงท่อนเดียว จะนำมาทำเป็นรูปร่างอย่างไรไม่ได้เลย เป็นไม้หุ่นที่นำมาทำไม้ดัดยากที่สุด จะต้องนำมาเลี้ยงให้ต้นแตกกิ่งกระโดงใหม่แล้วจึงจะทำการปิดกระหม่อมหุ่น (การปิดกระหม่อม หมายถึง การที่ดัดกิ่งที่แตกใหม่มาทับรอยตัดของต้นต่อเดิม) เมื่อกิ่งกระโดงได้ขนาดและเชื่อมกับต้นตอได้ดีแล้ว ก็จะใช้กิ่งกระโดงนั้นเป็นหุ่นทำกิ่งช่อต่อไป ผู้ดัดจะต้องใช้ฝีมือ และมีความวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศ จึงจะทำได้สำเร็จ การใช้ไม้ชนิดนี้มาทำไม้หุ่นต้องใช้เวลามากกว่าจะได้ไม้ดัดที่เสร็จสมบูรณ์อาจจะถึง 15-18 ปีก็ได้ ไม้วิชานี้ถือว่าเป็นไม้ที่ใช้ทดสอบฝีมือผู้ดัดได้เป็นอย่างดีการเตรียมพันธุ์ไม้ดัด

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ลักษณะและชนิดพันธุ์ของไม้ดัดไม้แคระ

ลักษณะชนิดพันธุ์ของไม้ดัดไม้แคระ
ลักษณะ ไม้ดัดเป็นศิลปะประจำชาติไทย เป็นศิลปะการเล่นพันธุ์ไม้ของคนไทยโบราณตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นไม้ดัดแสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะพากเพียรพยายามทรงไว้ซึ่งฝีมือและแนวความคิดในงานศิลปะของคนไทย เพราะไม้ดัดจะมีรูปร่างลักษณะถูกต้องตามแบบฉบับการดัดจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า ๕ หรือ ๑๐ ปี ไม้ดัดไทยที่มีลักษณะงดงามจึงมีอายุถึง ๒๐, ๕๐ ปี บางต้นมีอายุถึง ๑๐๐ ปีก็มี จึงทำให้ไม้ดัดมีค่าสูงเหมือนโบราณวัตถุที่มีค่าสูงชิ้นหนึ่ง ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยและโปรดปรานเล่นไม้ดัด ดังปรากฏในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังดุสิต นอกจากนี้ยังมีเจ้านายอีกหลายพระองค์ ทรงเล่นไม้ดัด เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ เป็นต้น ส่วนบรรดาพระสงฆ์ไทย ก็มีพระครูประสิทธิ์สมณการวัดจักรวรรดิ์ พระมหาผิว (ศุขะพิศิษฐ์) วัดเทพศิรินทร์ เป็นต้น ถึงแม้ว่าบรรดาท่านเหล่านั้นจะสิ้นชีพแล้วก็ตาม แต่แบบฉบับและผลงานของท่านยังคงอยู่ จนกระทั่งปัจจุบัน และยังเป็นการแสดงความเคารพกตัญญูบรรดาท่านเหล่านั้นที่ทำใหศิลปะไม้ดัดยังตกทอดถึงปัจจุบันนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) ได้เขียนโคลงตำราไม้ดัดไว้และพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ์) นับว่าเป็นตำราไม้ดัดเล่มแรกและกลายเป็นแม่แบบตำราไม้ดัดมาจนถึงปัจจุบัน

ความหมายของไม้ดัดไม้แคระ

มรดกทางศิลปที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ที่ปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยาก และหาผู้สืบทอดได้ยากอีกด้วยก็คือ การเลี้ยงไม้ดัดแบบไทย ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผู้เขียนได้เคยยกมากล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้ว ประมาณกันว่า"ขุนแผน" ตัวเอกในเรื่องนี้ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพุทธศักราช 2034 ถึง 2072 หรือจุลศักราช 840 ถึง 891 ซึ่งก็หมายความว่าคนไทยเล่นไม้ดัดเป็นงานอดิเรกกันมานานกว่า 500 ปีแล้ว
แต่ว่า ก่อนที่จะคุยกันเรื่องไม้ดัดแบบไทยกันต่อไป ขอทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไม้ดัดแบบไทยนั้น มีความแตกต่างไปจากไม้แคระตามศิลป"บุ่งไช่"ของจีน และ"บอนไซ"ของญี่ปุ่น อย่างที่เรียกว่าไปกันคนละเรื่อง ประการสำคัญก็คือ ไม้ดัดไทยไม่ใช่ไม้แคระ เพราะฉนั้นการเล่นไม้ดัดกับการเล่นบอนไซนั้นจะไม่เหมือนกัน ข้อแรก ไม้แคระหรือบอนไซนั้น เท่าที่เคยเห็นมา ความสูงอย่างมากที่สุดก็อยู่ประมาณไม่เกินเมตรครึ่ง หรือประมาณ 150 เซ็นติเมตร แล้วเล็กลงไปจนถึงขั้นบอนไซจิ๋ว ซึ่งสูงไม่ถึง 10 เซ็นติเมตร แต่ไม้ดัดของไทยนั้น ขนาดเล็กที่สุดก็ปาเข้าไปร่วมเมตรแล้ว สำหรับที่สูงจริงๆ นั้น ถ้าจะลองไปดูแถวๆ ในพระบรมมหาราชวัง แถวพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก็ไม่หนี 3-4 เมตรข้อที่สอง รูปแบบของการดัดกิ่งและการตกแต่งกิ่งก้านแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง รูปแบบของบอนไซนั้น เป็นการคงเอาลักษณะและรูปทรงเดิมๆ ของต้นไม้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาย่อส่วนให้เล็กลงเป็นไม้แคระ แต่รูปแบบของกระบวนไม้ดัดไทยนั้น ไม่คงลักษณะเดิมตามธรรมชาติของต้นไม้ไว้เลย รูปร่างหน้าตาของไม้ดัดไทยแต่ละแบบนับได้ว่ามีความพิลึกพิสดารอย่างยิ่ง ต้องใช้เวลานับเป็นสิบปีกว่าจะ"จบ"ได้ บางทีจนเจ้าของไม้ตายไปแล้วไม้ยังจบไม่ลงก็มี นับเป็นงานอดิเรกที่ต้องใช้ความอุตสาหะ วิริยะ มานะ อดทน ใจเย็น โดยครบถ้วนกระบวนความ ดังนั้นไม้ดัดไทยจึงทรงคุณค่าอยู่ในตัวของมันเองและมีค่าเสมือนวัตถุโบราณอย่างหนึ่งทีเดียว

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้ญี่ปุ่น ลักษณะเป็นไม้ดัดที่คล้ายกันตามรูปทรง เป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ

ไม้ป่าข้อม ลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัด การตัดแต่งกิ่ง ตัดให้วนเวียนรอบๆต้นขึ้นไป การทำกิ่งและช่อพุ่มกำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆละ 3 ช่อรวมทั้งหมด 9 ช่อและจะต้องทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอกัน

ไม้ดัด ไม้แคระ


ไม้หกเหียน ลักษณะทรงต้นมีการดัดต่างกิ่งให้มีกิ่งย้อนกลับลงมาทางเดิมต้นอ่อนแล้วจึงดัดทำกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆต้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้แคระ


ไม้ฉาก ลักษณะตรงขึ้นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากกิ่งก็ตัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้นส่วนปลายกิ่งก็ปล่อยให้เป็นพุ่มใบ นิยมทำพุ่มใบ 9 ช่อ ไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นคู่ก็ได้ในลักษณะรูปทรงแบนหรือฉากบังตาก็ได้
ไม้ดัดเป็นไม้ดัดที่ดัดมากที่สุด ผู้ที่จะดัดจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ และมีความวิริยะความอดทนสูงมากจึงจะทำได้

ไม้กำมะลอ ลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไปจะมีกิ่งที่โคนหรือไม่มีก็ได้ แต่ส่วนยอดจะต้องดัดให้หันเหหมุนเวียนจากยอดวกวนชี้ลงล่างไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดจึงจะสมชื่อกำมะลอ คือ ไม่ใช่ของจริง
ฉะนั้นกิ่งยอดจะต้องทำให้หักเหชี้ลงข้างล่างแทนที่จะชี้ขึ้นฟ้าเหมือนทั่วไปและถ้ายิ่งยักเยื้องพิสดารได้มากเท่าไรก็ยิ่งดีจะมีกิ่งและช่อมากน้อยเท่าไรก็ไม่กำหนดขอให้ดูสวยงามเข้ารูปทรง
เท่านั้นเป็นพอ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้ขบวน หรือ ไม้กระบวน ลักษณะของทรงต้นจะตรงหรือคดเล็กน้อยก็ได้ ต้นต่ำตัดกิ่งให้วกวนเวียนขึ้นไปวนสุดยอด การจะตัดแต่งกิ่งจะไม่กำหนดรูปทรงแน่นอนผู้ดัดจะดัดพลิกแพลงอย่างใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญจะต้องจัดช่อพุ่มใบให้จังหวะช่องไฟดูพอเหมาะพอดีและแต่งให้เรียบร้อย โดยทั่วไปนิยมทำเป็น 9 ช่อ ไม้ขบวนสามารถตัดแต่งช่อพุ่มได้ง่ายๆ ไม้ดัดชนิดอื่นๆจึงมีความนิยมอย่างมาก

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้เขน ต่างจากไม้ดัดชนิดอื่นตรงที่จะให้ความ สำคัญที่ตรงต้น โดยต้นจะต้องมีปุ่มที่โคนและกิ่งต่ำสุด ต้องดัดลง ให้อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 และกิ่งยอดโดยเฉพาะกิ่งยอดต้องหักเอี้ยวลงมาข้างหลังก่อนแล้วจึงดัดวกกลับมา สำหรับกิ่งที่ 2 ดัดให้ได้จังหวะรับกับกิ่งยอด ไม้เขนนี้นิยยมทำกิ่งและช่อ จึงจะดูสวยงาม

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้ตลก เป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลกตาทำนองตลก ขบขัน มี 2 ลักษณะ คือ ไม้ตลกหัวและตลกราก

ไม้ตลกหัว จะมีส่วนบุคคลของลำต้นเป็นก้อนกลุ่มยิ่งใหญ่โตเท่าไรยิ่งดี ลักษณะทรงต้นจะเป็นกระปุ่มกระป่ำมีกิ่งมีช่อน้อย
ไม้ตลกราก จะมีรากลอยหรือรากบางส่วนโผล่พื้นดินขึ้นมาดูไม่เรียบร้อย

ไม้ดัด ไม้แคระ


ไม้เอนชาย หรือไม้เอนชายมอจะเอนไปตามด้านข้างเหมือนต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผา หรือ ตามตลิ่งมีรากยึดเกาะ

ไม้ดัด ไม้แคระ


ไม้ป่าข้อม ลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัด การตัดแต่งกิ่ง ดัดให้วนเวียนรอบๆต้นขึ้นไป การทำกิ่งและช่อพุ่มกำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆละ 3 ช่อรวมทั้งต้น 9 ช่อและต้องจัดทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอกัน

ไม้ดัด ไม้แคระ


ไม้ญี่ปุ่น ลักษณะเป็นไม้ดัดที่คล้ายกับตามรูปทรงไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้หกเหียน ลักษณะทรงต้นมีการดัดต่างกิ่งให้มีกิ่งย้อนกลับลงมาทางเดิมต้นอ่อนแล้วจึงดัดทำกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆต้น

ไม้ดัด ไม้แคระ

ไม้ฉาก ลักษณะตรงขึ้นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากกิ่งก็ตัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้นส่วนปลายกิ่งก็ปล่อยให้เป็นพุ่มใบนิยมทำพุ่มใบ 9 ช่อไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยว หรือ ต้นคู่ ในลักษณะรูปทรงแบนและฉากบังตาก็ได้
ไม้ดัดเป็นไม้ดัดที่ดัดมากที่สุด ผู้ที่จะดัดจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความวิริยะ ความอดทนสูงมากจึงจะทำได้

ไม้ดัด ไม้แคระ



ไม้ขบวน หรือ ไม้กระบวน ลักษณะของทรงต้นจะตรงหรือคดเล็กน้อยก็ได้ ต้นต่ำตัดกิ่งให้วกวนเวียนขึ้นไปวนสุดยอด การจะตัดแต่งกิ่งจะไม่กำหนดรูปทรงแน่นอนผู้ดัดจะดัดพลิกแพลงอย่างใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญจะต้องจัดช่อพุ่มใบให้จังหวะช่องไปดูพอเหมาะพอดีและแต่งให้เรียบร้อย โดยทั่วไปนิยมทำเป็น 9 ช่อ ไม้ขบวนสามารถตัดแต่งช่อพุ่มได้ง่ายๆ ไม้ดัดชนิดอื่นๆจึงได้รับความนิยมอย่างมาก